เมนู

อรรถกถาอาชานิยสูตร


พึงทราบวินิจฉัยใน อาชานิยสูตรที่ 3 ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า อาชฺชเวน ได้แก่ ด้วยความตรง คือด้วยการไปไม่คด.
บทว่า ชเวน คือด้วยฝีเท้าเร็ว. บทว่า มทฺทเวน คือ ด้วยมีสรีระอ่อนโยน.
บทว่า ขนฺติยา คือ ด้วยความอดทนด้วยความอดกลั้น. บทว่า
โสรจฺเจน คือ ด้วยความมีปกติสะอาด ในภิกษุวาระ [วาระว่าด้วยภิกษุ]
พึงทราบวินิจฉัยดังนี้ บทว่า อาชฺชวํ ได้แก่ ความไปตรงแห่งญาณ.
บทว่า ชโว ได้แก่ ความดำเนินไปแห่งญาณอันกล้า. บทว่า มทฺทวํ คือ
ความอ่อนโยนเป็นปกติ. บทว่า ขนฺติ ได้แก่ ความอดทนด้วยความอดกลั้น
นั่นแล. บทว่า โสรจฺจํ คือ มีความสะอาดเป็นปกติทีเดียว
จบอรรถกถาอาชานิยสูตรที่ 3

4. พลสูตร


ว่าด้วยกำลัง 5


[204] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กำลัง 5 ประการนี้ 5 ประการ
เป็นไฉน ? คือ กำลังคือศรัทธา 1 กำลังคือหิริ 1 กำลังคือโอตตัปปะ 1 กำลัง
คือวิริยะ 1 กำลังคือปัญญา 1 ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กำลัง 5 ประการนี้แล.
จบพลสูตรที่ 4
อรรถกถาว่าพลสูตรที่ 4 ตรัสพละ 5 ไว้คละกัน.

5. เจโตขีลสูตร


ว่าด้วยตะปูตรึงใจ 5 ประการ


[205] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตะปูตรึงใจ 5 ประการนี้ 5 ประการ
เป็นไฉน ? คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเคลือบแคลงสงสัย ไม่น้อมใจเชื่อ
ไม่เลื่อมใสในศาสดา ภิกษุใด ย่อมเคลือบแคลงสงสัย ไม่น้อมใจเชื่อ ไม่
เลื่อมใสในศาสดา จิตของภิกษุนั้นย่อมไม่น้อมไปเพื่อความเพียร เพื่อความ
ประกอบเนือง ๆ เพื่อกระทำติดต่อ เพื่อบำเพ็ญเพียร นี้เป็นตะปูตรึงใจข้อที่ 1.
อีกประการหนึ่ง ภิกษุย่อมเคลือบแคลงสงสัย ไม่น้อมใจเชื่อ ไม่
เลื่อมใสในธรรม
ภิกษุใด ย่อมเคลือบแคลงสงสัย ไม่น้อมใจเชื่อ ไม่เลื่อมใส
ในธรรม จิตของภิกษุนั้นย่อมไม่น้อมไปเพื่อความเพียร เพื่อความประกอบ
เนือง ๆ เพื่อกระทำติดต่อ เพื่อบำเพ็ญเพียร นี้เป็นตะปูตรึงใจข้อที่ 2.
อีกประการหนึ่ง ภิกษุย่อมเคลือบแคลงสงสัย ไม่น้อมใจเชื่อ ไม่
เลื่อมใสในพระสงฆ์
ภิกษุใด ย่อมเคลือบแคลงสงสัย ไม่น้อมใจเชื่อ ไม่
เลื่อมใสในพระสงฆ์ จิตของภิกษุนั้นย่อมไม่น้อมไปเพื่อความเพียร เพื่อความ
ประกอบเนือง ๆ เพื่อกระทำติดต่อ เพื่อบำเพ็ญเพียร นี้เป็นตะปูตรึงใจข้อที่ 3.
อีกบระการหนึ่ง ภิกษุย่อมเคลือบแคลงสงสัย ไม่น้อมใจเชื่อ ไม่
เลื่อมใสในสิกขา
ภิกษุใด ย่อมเคลือบแคลงสงสัย ไม่น้อมใจเชื่อ ไม่เลื่อมใส
ในสิกขา จิตของภิกษุนั้นย่อมไม่น้อมไปเพื่อความเพียร เพื่อความประกอบ
เนือง ๆ เพื่อกระทำติดต่อ เพื่อบำเพ็ญเพียร นี้เป็นตะปูตรึงใจข้อที่ 4.
อีกประการหนึ่ง ภิกษุย่อมโกรธ มีใจไม่แช่มชื่น มีจิตอันโทสะกระทบ
แล้ว กระด้างในพวกเพื่อนพรหมจรรย์ จิตของภิกษุนั้นย่อมไม่น้อมใจ